เมนู

10. น สีลพฺพตมตฺเตน พาหุสจฺเจน วา ปน
อถวา สมาธิลาเภน วิวิตฺตสยเนน วา
ผุสามิ เนกฺขมฺมสุขํ อปุถุชฺชนเสวิตํ
ภิกฺขุ วิสฺสาสมาปาทิ อปฺปตฺต อาสวกฺขยํ.

"ภิกษุ ภิกษุยังไม่ถึงอาสวักขัย อย่าเพิ่งถึงความ
วางใจ ด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร ด้วย ความเป็น
พหูสูต ด้วยอันได้สมาธิ ด้วยอันนอนในที่สงัด หรือ
(ด้วยเหตุเพียงรู้ว่า) ' เราถูกต้องสุขในเนกขัมมะ ซึ่ง
ปุถุชนเสพไม่ได้แล้ว."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลพฺพตมตฺเตน คือ ด้วยเหตุสักว่า
ปาริสุทธิศีล 4 หรือสักว่าธุดงคคุณ 13.
บทว่า พาหุสจฺเจน วา ความว่า หรือด้วยเหตุสักว่าความเป็นผู้
เรียนปิฎก 3.
บทว่า สมาธิลาเภน ความว่า หรือด้วยอันได้สมาบัติ 8.
บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ คือ สุขของพระอนาคามี. เพราะฉะนั้น ภิกษุ
อย่าเพิ่งถึงความวางใจ ด้วยเหตุมีประมาณเพียงรู้เท่านี้ว่า ' เราถูกต้องสุข
ของพระอนาคามี.'
บทว่า อปุถุชฺชนเสวิตํ ความว่า อันปุถุชนทั้งหลายเสพไม่ได้ คือ
อันพระอริยะเสพแล้วอย่างเดียว. ภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ
ทรงทักภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็ตรัสว่า " ภิกษุ."

บทว่า วิสฺสาสมาปาทิ ความว่า อย่าเพิ่งถึงความวางใจ. มีคำ
อธิบายไว้ฉะนี้ว่า " ภิกษุ ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต กล่าว
คือความสิ้นไปแห่งอาสวะ ไม่พึงถึงความวางใจว่า ' ภพของเราน้อย นิด
หน่อย ' ด้วยเหตุสักว่า ความเป็นผู้มีคุณมีศีลสมบูรณ์เป็นต้นนี้เท่านั้น;
เหมือนคูถแม้มีประมาณน้อยก็ยังมีกลิ่นเหม็นฉันใด, ภพแม้มีประมาณน้อย
ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ฉันนั้น."
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว, เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุมากรูป จบ.
ธัมมัฏฐวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 19 จบ.

คาถาธรรมบท



มรรควรรคที่ 20

1

ว่าด้วยมรรคมีองค์ 8 ประเสริฐ



[30] 1. บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐ
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท 4 ประเสริฐ บรรดาธรรม
ทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ บรรดาสัตว์ 2 เท้า และ
อรูปธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐ
ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทางอื่น
ไม่มี เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางนี้
เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง ด้วยว่า
ท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ เราทราบทางเป็นที่สลัดลูกศรแล้ว จึงบอก
แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียร
เครื่องเผากิเลส พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอก
ชนทั้งหลายผู้ดำเนินไปแล้ว มีปกติเพ่งพินิจ ย่อม
หลุดพ้นจากเครื่องผูกของมาร.

2. เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความ
หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความ

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 10 เรื่อง.